วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

the good website to teach 4 skill

http://www.nclrc.org/essentials/speaking/stratspeak.htm

how to be a gooa teacher

ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู และลักษณะครูที่ดี
ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู


ในความหมายของปรัชญาจัดว่าเป็นแนวอุดมคติในการดำเนินงานใด ๆ โดยใช้ปัญญา

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ เมื่อบุคคลได้เกิดความสนใจและใฝ่หาความรู้จากวิชาปรัชญาก็ย่อมได้รับอัตถประโยชน์อย่างมากมาย พอสรุปได้ดังนี้

1. ปรัชญาสอนให้รู้จักความจริงอันสิ้นสุด เช่น พระเจ้ามีจริงหรือไม่
2. ปรัชญาสอนให้รู้จักทฤษฎีแห่งความรู้ เช่น การวิจัยจะนำไปสู่การค้นหาคำตอบได้
3. ปรัชญาสอนให้รู้จักความดีและความถูกต้อง เช่น การทำประโยชน์ให้แก่สังคมถือว่าเป็นความดี
4. ปรัชญาสอนให้รู้จักความงาม เช่น การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของสังคม อันก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นสุขใจ
5. ปรัชญาสอนให้เกิดอุดมคติในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่การงาน เช่น สอนให้บุคคลเป็นครูในอุดมคติ หรือเป็นครูที่มีอุดมการณ์ที่จะช่วยพัฒนาชนบทอย่างแท้จริง
6. ปรัชญาสอนให้รู้จักประเมินคุณค่าในพฤติกรรมของบุคคลว่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่

ดังได้กล่าวแล้วว่า ปรัชญาเป็นแนวอุดมคติในการดำเนินงานใด ๆ โดยใช้ปัญญาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ สำหรับคุณธรรมคุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำความดี หรือเป็นพฤติกรรมที่ดีซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม

ดังนั้น คุณธรรมสำหรับครู ก็คือคุณงามความดีของบุคคลที่เป็นครู ซึ่งได้กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำความดี หรือเป็นพฤติกรรมทีดีซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ครูที่มีความเสียสละ ครูที่มีน้ำใจงาม ครูที่มีความเกรงใจ ครูที่มีความยุติธรรม ครูที่รักเด็กและรักเพื่อนมนุษย์ ครูที่มีความเห็นอกเห็นใจลูกศิษย์ และครูที่มีมารยาทที่งดงามถือว่าเป็นครูที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น

โดยหลักการ ครูจะต้องเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีล เพราะสังคมได้ยกย่องให้ครูเป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้ประเสริฐและประสาทความรู้ สร้างความเป็นคนและอบรมสั่งสอนเด็กให้เป็นเด็กที่ดีของสังคม ความจำเป็นที่จะต้องให้ครูเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีลดังกล่าวแล้วชี้ให้เห็นว่า ความเป็นนักปราชญ์ของครูนั้น ครูจะต้องมีความดีและถ่ายทอดดี สอนให้เด็กได้รับความรู้และสนุกมีชีวิตชีวา ส่วนความเป็นผู้ทรงศีลของครู ในฐานะที่ครูเป็นแม่แบบของชาติหรือเป็นต้นแบบในพฤติกรรมทั้งปวง จะช่วยให้ครูเป็นคนดี วางตัวดี เป็นที่เคารพและเป็นที่น่าเชื่อฟังของลูกศิษย์ จึงกล่าวได้ว่า ครูต้องมีคุณธรรม หรือคุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าครูจำเป็นต้องมีคุณธรรม แต่คุณธรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอครูต้องเป็นนักปรัชญาด้วย การเป็นนักปราชญ์ของครูจะช่วยให้ครูมีความรู้รอบ และรอบรู้ มีทัศนะกว้างไกลและลึก มองเห็นชีวิตของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างทะลุปุโปร่ง และช่วงมองอนาคตของเด็กให้ทะลุปุโปร่งด้วย เพื่อจะได้ประคับประคองสนับสนุน และส่งเสริมให้เด็กเจริญก้าวหน้าอย่างเต็มที่

จึงสรุปได้ว่าปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นครูเปรียบเสมือนกับโลหะธาตุที่มีเนื้อธาตุดี ย่อมเป็นโลหะที่ดี เช่นเดียวกันถ้าครูมีปรัชญาและคุณธรรมก็จะได้รับความยกย่องว่า เป็นครูดีของสังคมได้ (สงวน สุทธิ์เลิศอรุณ 2536:20–21)



หลักคุณธรรมสำหรับครู

ผู้บริหารการศึกษา ครูอาจารย์ อยู่ในฐานะที่เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน นักศึกษา การที่ศิษย์จะเคารพนับถือและมีความศรัทธาต่อครูอาจารย์ของตนนั้น ครูอาจารย์ต้องมีคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญ



คุณธรรม 4 ประการ

ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี

ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความเชื่อ และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้มีความเจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว และจะช่วยใช้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังความประสงค์ ครู อาจารย์เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ควรถือปฏิบัติตามหลักคุณธรรมดังกล่าวเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ สถาบันวิชาชีพครูจะได้มีความเจริญก้าวหน้า สังคมและประเทศไทยจะได้มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

นอกจากหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว ผู้บริหาร ครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษา ยังต้องประพฤติและปฏิบัติตามหัวข้อธรรมดังกล่าว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และนักเรียน อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ การเรียนการสอนก็จะต้องจัดตามความมุ่งหมายของรัฐ

การศึกษาตามนัยแห่งแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันตลอดชีวิต เพื่อมุ่งสร้างเสริมคุณภาพของพลเมืองให้สามารถดำรงชีวิตและทำประโยชน์แก่สังคม โดยเน้นการศึกษาเองสร้างเสริมความอยู่รอดปลอดภัย ความมั่นคงและความผาสุกร่วมกันในสังคมไทยเป็นประการสำคัญ จึงได้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้ 9 ข้อ

ความมุ่งหมายของการศึกษา 9 ข้อ เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่ดีงามของบุคคล เพื่อสร้างเสริมคุณภาพของพลเมือง ซึ่งอาจสรุปเป็น คุณลักษณะของคนไทยที่มีความจำเป็นจะต้องปลูกฝังให้ถึงพร้อมในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้



คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ

1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว

2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์

3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม

4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม

5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด

7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง

8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์

คุณลักษณะ 10 ประการนี้ เป็นทั้งแนวทางและเป้าหมายในการจัดการศึกษาและอบรมสั่งสอนนักเรียน ของสถานศึกษาทุกระดับและเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาต้องถือปฏิบัติด้วยเช่นกันผู้บริหารการศึกษาคือผู้ที่เป็นหัวหน้าสถานศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ และรวมไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย หรือรองของตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดการและพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้บริหารการศึกษาเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้วางแผนการต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนทั้งหลายได้รู้จักและเข้าใจในหลักจริยธรรม ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาในระดับใดดังนั้นผู้บริหารจึงมีคุณธรรมและ

จริยธรรมตามที่กำหนดไว้สำหรับอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาครบทุกข้อโดยเฉพาะคุณธรรมและจริยธรรมเป็นธรรมที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องปฏิบัติและตระหนักอยู่ในใจเสมอ คือ

1. การมีความละอายในการทำความชั่ว ทำความทุจริตทั้งปวงและเกรงกลัวและสะดุ้งกลัวต่อความชั่วทั้งปวง ซึ่งคุณธรรมข้อนี้ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบบเรียบร้อยไม่เดือดร้อนวุ่นวาย

2. การมีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อแความยากต่าง ๆ ที่คนอื่นมีต่อตนและมีความสงบเสงี่ยม และความอ่อนน้อมถ่อมตน

3. มีสติสัมปชัญญะเต็มเป็นอยู่ตลอดเวลา รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนสม่ำเสมอ ไม่มีการลืมตัวหรือละเลยต่อหน้าที่ต่าง ๆ

4. รู้จักอุปการะ คือ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น นึกถึงประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง พร้อมที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้อื่น ในงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน ไม่มีอคติในการปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานต่อศิษย์ หรือ นักเรียนและบุคคลอื่น ๆ

5. มีคุณธรรมประจำตน ในการที่ทำการงานในหน้าที่ของตนให้สำเร็จ(อิทธิบาท) 4 ประการมีความพอใจและเอาใจใส่ในหน้าที่การงานของตน มีความพากเพียรในการประกอบการงาน เอาใจใส่ในการงานไม่ทอดทิ้งและหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลและวิธีที่จะทำให้การงานเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ

6. มีคุณสมบัติอันประเสริฐ (พรหมวิหาร) 4 ประการ คือ มีความเมตตา ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความกรุณา สงสาร คิดหาทางให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ มีมุทิตาปราบปลื้มยินดีในความสำเร็จ ความก้าวหน้าของผู้อื่นและมีอุเปกขา ความวางเฉย เห็นอกเห็นใจผู้ได้รับความทุกข์

7. มีคุณธรรมที่เป็นเครื่องผูกน้ำใจผู้อื่นและบุคคลทั่วไป(สังคหวัตถุ) ๔ ประการอยู่เป็นการประจำ คือ ให้ปันสิ่งของแก่บุคคลที่ควรให้ปัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่แก่ผู้อื่นตามสมควรแก่กรณี(ทาน) มีวาจาอ่อนหวาน สุภาพเรียบร้อย(ปิยวาจา) ประพฤติตนเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นและเป็นคนไม่ถือตัวไม่ถือยศศักดิ์ เข้ากันได้กับผู้ร่วมงานทุกคน ตามความเหมาะสมตามฐานะของตน (สมานัตตา)

8. หมั่นศึกษาหาความรู้รอบตัว ให้มีความรอบรู้ เพื่อเป็นผู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ บุคคลและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน้าที่การงาน(พาหุสัจจะ)

9. ประพฤติตนให้ห่างจากอบายมุขหรือทางแห่งความเสื่อมต่าง ๆ ไม่กระทำตนให้เป็นผู้เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น ผู้ร่วมงาน หรือนักเรียน นักศึกษาทุกคน และบุคคลทั่วไป (ชำเลือง วุฒิจันทร์; 2524 น. 117–119)

กรรมการฝึกหัดครู (กระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครู 2515 : 14–15)ได้กำหนดเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเป็นครูว่าครูที่มีสมรรถภาพสูงนั้นควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. ทำการสอนให้เป็นอย่างดี

2. สามารถทำการอบรม แนะแนว และปกครองได้เป็นอย่างดี

3. ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

4.สร้างสัมพันธภาพได้เป็นอย่างดีและร่วมมือกับชุมชน

5. เป็นครูชั้นอาชีพโดยรู้จัก

1. เพิ่มพูนความรู้ให้แก่อาชีพอยู่เสมอ

2. เป็นสมาชิกที่ดีของทางวิชาการ

3. ยึดถือแบบธรรมเนียมของผู้เป็นครู

4. ช่วยเหลือแนะนำครูใหม่

สาโรจ บัวศรี ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการเป็นครูที่ดีในด้านสมรรถภาพว่าต้องมี

คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

1. สามารถทำการสอนได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1.ใช้หลักจิตวิทยาแห่งการเรียน
2.ใช้หลักการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
3.ทำบรรยากาศที่เหมาะสมที่จะเกิดการเรียนรู้
4.วางแผนสำหรับการสอนอย่างถี่ถ้วน
5.ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
6.ใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อวัดผลการเรียนวิเคาะร์แก้ไขและรู้จักวัดผลโดยทั่วไป 7.ปกครองชั้นและบริหารงานต่าง ๆ ของชั้นได้อย่างเรียบร้อยและราบรื่น ทำงานธุรการของโรงเรียนได้
2.สามารถอบรมแนะแนว และปกครองได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1.หลักการที่ว่า ถ้าทุกคนสร้างคุณธรรมและหลักธรรมต่าง ๆ ไว้ประจำตัวได้แล้ว
2.ใช้หลักการและวิธีการของการแนะแนว
3.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบิดามารดาและผู้ปกครอง
4.ใช้ผลของการวิจัย และผลของการทดสอบต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในการอบรม
3.สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1. ร่วมในการวางแผนจัดการ กิจกรรมในหลักสูตร หรือกิจกรรมร่วมหลักสูตรชนิดต่าง ๆ
2. รับหน้าที่และภาวะในการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นตามแผน
3. รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงานทั้งปวงของโรงเรียน
4.สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีและร่วมมือกับชุมชนเป็นอย่างดี โดยรู้จัก
1.ช่วยเหลือชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
2.ทำให้ชุมชนเข้าใจโรงเรียน และสนับสนุนในทางที่เหมาะสม
3.หาความร่วมมือจากมารดาบิดาของผู้ปกครอง
4.หาบุคคลอื่น และสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนที่เป็นประโยชน์ในการสอน
5.ร่วมมือกับทางราชการปรับปรุงชุมนุมชน
5.สามารถเป็นครูชั้นอาชีพ โดยรู้จัก
1.เพิ่มพูนความรู้ให้แก่อาชีพครู โดยการเขียน การพูด การค้นคว้า การวิจัยการเป็นสมาชิกที่ดีของสมาคม หรือสถาบันทางการศึกษา
2.ยึดถือขนบธรรมเนียมของผู้เป็นครู และช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อนครู
3.ส่งเสริมตัวเองให้งอกงามในทางวิชาการ ศึกษาอยู่เสมอ
4.ช่วยเหลือแนะนำผู้ที่เข้ามาเป็นครูใหม่ในโรงเรียนของตน
ธนู แสวงศักดิ์ มีความเห็นว่าลักษณะของครูที่ดีนั้นควรมี 5 ประการ ดังนี้

1. มีความสัมพันธ์กับนักเรียนดี คือ ครูจะต้องสนใจ เอาใจใส่ต่อปัญหาของนักเรียน คอยตอบปัญหาให้กระจ่าง แนะแนว รู้จักระงับอารมณ์ อดทน วางตัวเหมาะสม ไม่สนิทสนมกับเด็กมากเกินไปไม่ทำให้ขายหน้า รู้จักเปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินผลการสอน และให้กำลังใจให้นักเรียนอย่างมีเหตุผล

2. มีความรักในอาชีพครู มีส่วนช่วยแนะนำเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอยู่เสมอ ทันสมัยต่อความรู้และกิจกรรมของครู

3.ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ มีความสามารถในอาชีพ

4. มีจรรยาครู ไม่แพร่ข่าวลือ ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ ไม่ขโมยผลงานของคนอื่น ไม่ให้ร้ายผู้อื่น มีมารยาทในการติดต่อสายงานทางด้านราชการไม่นำผู้อื่นมาพูดให้นักเรียนฟัง

5. มีคุณสมบัติส่วนตัวดี มีสติปัญญาดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่ม มีความกระตือรือร้น เป็นกันเองกับนักเรียน

6. มีรูปร่างท่าทางดี มีใบหน้าสะอาด ตัดผมเรียบร้อยสุภาพ เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อย และเหมาะกับกาละเทศะ รักษาท่าทางให้สง่างาม ไม่สูบบุหรี่ หรือรับประทานอะไรระหว่างที่ทำการสอนอยู่



คุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีจากผลการวิจัย

ฝ่ายโครงการของวิทยาลัยครูบ้านเจ้าพระยา ได้ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่สังคมต้องการ โดยนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในเขตกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้สรุปผล ดังนี้

1. ด้านความประพฤติควรมีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ และสังคม

2. ด้านความรู้ทางด้านวิชาการ ควรมีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะ

3. ด้านการสอนต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนให้ได้ผลดี

4. ด้านการปกครองนักเรียน ควรฝึกนักเรียนให้มีวินัยควบคู่ไปกับการอบรมทางศีลธรรม

5. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ของครู ครูควรสร้างความเข้าใจและคุณความดีของสังคม

6. ด้านบุคลิกภาพของครู ครูควรแต่งกายเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง มีเสียงพูดชัดเจน และมีลักษณะของความเป็นผู้นำ

7. ด้านการทำงานนอกเวลา และงานอดิเรกของครู เห็นว่าครูควรทำได้ไม่กฎหมาย หรือขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

ผลงานการวิจัยของ เฉลียว บุรีภัคดี เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีโดยการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้บริหาร พระ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งสิ้น 7,762 คน มี ดังนี้



ครูที่ไม่ชอบมากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อย มี ดังนี้

1.ขาดความรับผิดชอบ
2.การเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ขาดความยุติธรรม
4.เห็นแก่ตัว
5.ประจบสอพอ

ครูที่ชอบมากที่สุด มี ดังนี้

1.ตั้งใจสอนและสอนเข้าใจแจ่มแจ้ง
2.ความเข้าใจและเป็นกันเอง
3.ความรับผิดชอบ
4.มีความยุติธรรม
5.ความเมตตา
6.ร่าเริง แจ่มใส สุภาพ
7.มีวิธีสอนแปลก ๆ
8.มีอารมณ์ขัน
9.เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่

ความบกพร่องของครู จากมากไปหาน้อย มี ดังนี้

ชาย

1.ความประพฤติไม่เรียบร้อย
2.มัวเมาในอบายมุข
3.การแต่งกายไม่สุภาพ
4.การพูดจาไม่สุภาพ
5.ไม่รับผิดชอบการงาน

หญิง
1.การแต่งกายไม่สุภาพ
2.ความเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ประพฤติไม่เรียบร้อย
4.ไม่รับผิดชอบการงาน
5.ชอบนินทา
6.จู่จี้ขี้บ่น
7.วางตัวไม่เหมาะสม
8.คุยมากเกินไป

หน้าที่ของครูที่จำเป็นมากที่สุด คือ

1.สอนและอบรม
2.การเตรียมการสอน
3.หน้าที่ธุรการ เช่น ทำบัญชีเรียกชื่อและสมุดประจำวันชั้น
4.การแนะแนว
5.การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
6.ดูแลอาคารสถานที่
7.ทำความเข้าใจเด็ก

ลักษณะของครูที่ดี เรียงตามลำดับ คือ

1.ความประพฤติเรียบร้อย
2.ความรู้ดี
3.บุคลิกการแต่งกายดี
4.สอนดี
5.ตรงเวลา
6.มีความยุติธรรม
7.หาความรู้อยู่เสมอ
8.ร่าเริง แจ่มใส
9.ซื่อสัตย์
10.เสียสละ

จำเนียร น้อยท่าช้าง ยังได้ทำการวิจัยเรื่องครูดีในทัศนะของเด็ก โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 5 ทุกจังหวัด เป็นจำนวน 2,418 คน ชาย 1,203 หญิง 1,215 คน สรุปได้ดังนี้

เกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปของครู

1.ครูจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้
2.อายุที่เหมาะสมของครูควรอยู่ในระหว่าง 31–40 ปี
3.สถานภาพสมรสของครูจะเป็นอย่างไรก็ได้
4.ครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นครูที่มีวุฒิในระดับปริญญาตรี
5.ครูควรมีความสามารถในการสอน โดยสามารถสอนได้ทั่วไป และมีความสามารถพิเศษเฉพาะรายวิชา
6.ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น วิทยาศาสตร์ ปรากฎว่านักเรียนต้องการเรียนกับครูที่จบวิทยาศาสตร์เป็นวิชาเอกและจบวิชาครูมาด้วย


เกี่ยวกับบุคลิกภาพลักษณะของครู
1.ครูควรมีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ
2.ครูควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่พอประมาณ
3.พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ
4.ครูควรพูดเสียงดัง
5.มีอารมณ์เย็น
6.เป็นกันเองกับเด็กนักเรียนและมีอารมณ์ขันบ้าง
7.มีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางด้านจิตใจและก็ทางด้านร่างกาย
8.มีลักษณะเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้

เกี่ยวกับทางด้านวิชาการของครู
1.ควรศึกษาและเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอในทุกด้าน
2.ควรมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
3.เคยเรียนวิธีสอนและผ่านการฝึกสอนมาก่อน
4.ควรมีวิชาความรู้วิชาวัดผล
5.ควรมีความรู้ในวิชาจิตวิทยา

การสอนและการปกครองของครู
1.ชอบครูที่ใช้อุปกรณ์การสอนช่วยในการสอน
2.ไม่ชอบครูที่มีความชำนาญแต่ไม่เตรียมการสอน
3.ชอบครูที่ให้งานและตรวจงานเสร็จเสมอ
4.ต้องการให้ครูสอนซ่อมนอกเวลาเรียน
5.ต้องการให้ครูมีกิจกรรมประกอบการสอนในบางโอกาส
6.ต้องการให้ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองบ้าง
7.ไม่ชอบครูที่เอาเวลาสอนไปทำงานอื่น
8.ชอบให้ครูยึดระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ โดยเคร่งครัด ถึงจะมีการลงโทษก็ยินดี
9.การลงโทษไม่ต้องการให้ครูเฆี่ยนตี
10.นักเรียนต้องการเรียนดีถึงแม้ว่าความประพฤติจะด้อยไปบ้าง

ความประพฤติของครู
1.ไม่เห็นด้วยกับการที่ครูจะไปเที่ยวพักผ่อนในสถานเริงรมย์ต่าง ๆ
2.ไม่อยากให้ครูดื่มสุรา เล่นการพนัน ไม่ว่าจะเป็นที่สโมสรข้าราชการหรือสถาบันที่ทั่ว ๆ ไป
3.ครูควรประพฤติตัวดีกว่าข้าราชการอาชีพอื่น ๆ เช่น หมอ หมายความว่า ตำรวจ ทหาร และข้าราชการปกครอง
4.ครูควรประพฤติตัวเรียบร้อย แต่ไม่ถึงกับจะเหมือนผ้าพับไว้
5.ครูควรรู้วัฒนธรรม แต่ไม่ต้องเคร่งครัดมากนัก
6.ครูควรเป็นกันเองกับเด็ก


มนุษย์สัมพันธ์ของครู
1.สามารถแนะนำให้เด็กได้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเรียน
2.ไม่เห็นด้วยที่ครูแสดงตัวเป็นกันเองกับเด็กโดยการพูดจาแบบนักเลง ๆ
3.ชอบครูที่มีความยุติธรรมและเป็นคนใจดี
4.ไม่ชอบที่ครูจะเข้ากับผู้ปกครองโดยวิธีการร่วมดื่มสุราหรือเล่นการพนัน
5.ครูควรร่วมมือพัฒนาชุมชน เพื่อจะเข้ากับชุมชนได้
6.ครูควรเชิญผู้ปกครองมาร่วมปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนด้วย

ครูเป็นผู้ให้กำเนิดพลเมืองที่ดี คือ ชุบพลเมืองให้เป็นนักรู้ นักทำงาน นักพูด นักเขียน นักตำรา นักประดิษฐ์ นักค้นคว้าเหตุผล นักปราชญ์ ฯลฯ เป็นต้น.

อุปสรรคในการสอนภาษาอังกฤษ

นักวิชาการชี้ อุปสรรคการสอนภาษาอังกฤษในไทย ครูไม่กล้าพูด-จบไม่ตรง

นักวิชาการชี้ อุปสรรคการสอนภาษาอังกฤษในไทย ครูไม่กล้าพูด-จบไม่ตรง
      หัวหน้าศูนย์ภาษาอังกฤษฯ ม.มหิดล เผยผลวิจัย ทัศนคติของครูสอนอังกฤษ ชี้ครูส่วนใหญ่ ขาดความเชื่อมั่น- ไม่กล้าพูด เหตุไม่ใช่เจ้าของภาษา ไม่ได้จบเอกอังกฤษโดยตรง กลัวสำเนียงผิดเพี้ยน แนะครูปรับทัศนคติ กล้าพูด จัดกิจกรรมเชื่อมบริบทสังคม ฝึกเด็กพูดคุยกับชาวต่างชาติ พร้อมฝากพ่อแม่ เลือกวัยให้เหมาะสมในการเรียนภาษา อย่ามองแค่ว่ายิ่งเรียนตั้งแต่เด็กยิ่งดี
      
       ดร.สิงหนาท น้อมเนียน หัวหน้าศูนย์ภาษาอังกฤษ และภาษาศาสตร์ประยุกต์ สำนักสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี กล่าวว่า จากผลกรณีศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนบริเวณ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี พบว่า ครูส่วนใหญ่มีทัศนคติไม่ดีในการสอนภาษาอังกฤษ คือ ครูไม่มีความมั่นใจในการสอนภาษาอังกฤษ เพราะตนเองไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษมาโดยตรง หรือคนที่จบเอกภาษาอังกฤษมาโดยตรงก็กลับมองว่าตนเองนั้นคงสอนได้ไม่ดีเท่ากับครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา เนื่องจากไม่ใช่เจ้าของภาษา ทำให้ไม่กล้าสอน ไม่กล้าพูด เพราะกลัวสำเนียงผิดเพียน ซึ่งทัศนคติของครูลักษณะดังกล่าว ส่งผลให้รูปแบบการเรียนการสอนด้อยพัฒนา ส่งผลให้นักเรียนที่อาจจะมีความกล้า กลายเป็นไม่กล้าพูด สนทนาด้วยภาษาอังกฤษต่อหน้าคนอื่น และเมื่อไม่พูด ก็จะทำให้เด็กนำไปใช้ไม่ได้ สื่อสารไม่เป็น
      
       “การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ครูเองต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ให้มั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าสนทนากับเด็ก ต่อให้สำเนียงผิดเพี้ยนไป เพราะถึงจะไม่ใช่เจ้าของภาษา แต่ถ้ารู้จักพูด รู้จักนำไปใช้ อย่างชาวต่างชาติ เช่น คนญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรืออเมริกา ฯลฯ ซึ่งพูดภาษาอังกฤษได้ แต่สำเนียงของพวกเขา ก็ไม่เหมือนคนอังกฤษ ดังนั้น ครูทุกคนต้องพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง และคำนึงอยู่เสมอว่าภาษาอังกฤษขณะนี้ ไม่ใช่เป็นภาษาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นภาษานานาชาติไปแล้ว” ดร.สิงหนาท กล่าว
      
       ทั้งนี้ในส่วนการจัดการเรียนการสอน ต้องกระตุ้นให้นักเรียนรัก เข้าใจ และกล้าสนทนากับชาวต่างชาติ โดยครูต้องเชื่อมบริบทของสังคม ชุมชน เช่น ชุมชนบริเวณโรงเรียน อ.ไทรโยค มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก ครูสามารถทำให้นักเรียนตระหนักถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษ และช่วยสร้างความมั่นใจในการพูดให้เด็กได้ โดยชวนเด็กออกไปพูดคุย ทำกิกจรรมกับนักท่องเที่ยวบ่อยๆ เพราะทำให้เด็กได้รู้ว่าชาวต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษได้ ถึงแม้สำเนียงแตกต่างกัน จะทำให้เด็กกล้าพูด และรู้จักนำภาษาอังกฤษมาใช้
      
       ดร.สิงหนาท กล่าวถึงกรณีที่ในปัจจุบันผู้ปกครองมักจะส่งบุตร หลานเรียนภาษาตั้งแต่เด็กว่เท่าที่ได้พูดคุยกับพ่อแม่ ส่วนใหญ่มักจะมองว่าควรส่งลูกเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อย ยิ่งอายุน้อยเท่าใดยิ่งดี แต่การส่งลูกเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก เหมือนดาบสองคม คือหากลูกเรียนแล้วแยกแยะได้ เป็นการฝึกทักษะ สร้างความคุ้นเคย ก็จะทำให้เด็กเก่งภาษาอังกฤษได้ แต่หากเด็กยังเล็กเกินไป ไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ เด็กจะเกิดความสับสน และไม่รู้ว่าภาษาไหนเป็นภาษา และวัฒนธรรมของตนเอง เพราะตอนอยู่โรงเรียนพูดภาษาอังกฤษแต่พอกลับบ้านมีแต่คนพูดภาษาไทย ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกเก่งภาษา ไม่เพียงแต่ภาษาอังกฤษนั้นก็ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่มองว่ายิ่งเด็กยิ่งดี
ผู้จัดการออนไลน์

The good website to leran english

good website
http://www.voanews.com/learningenglish/podcasts/
http://www.britishcouncil.org/professionals-podcast-english-listening-downloads-archive.htm
http://www.thefreedictionary.com/

How to excel in english

วิธีที่จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษ
How to Excel in English
(Master Jonathan's tactics)

        A lot of Thai students especially English admirers, would like to know "how to be good at English". According to Joseph Bellafiore, a veteran American linguist, the best way to excel of English is to try to enrich your word power. "The more vocabularies you gain, the better English learner you are," says Bellafiore.
        เด็กนักเรียนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ชอบภาษาอังกฤษล้วนอยากจะทราบ "วิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง" กันทั้งนั้น โจเซฟ เบลลาฟิโอเร นักภาษาศาสตร์อเมริกันผู้เชียวชาญ กล่าวไว้ว่า วิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งก็คือ จงพยายามเสริมสร้างความรู้ในเรื่องศัพท์ "ยิ่งรู้ศัพท์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นผู้เรียนภาษาอังกฤษยิ่งขึ้นเท่านั้น" เบลลาฟิโอเรกล่าว

         Wide reading of books, newspapers and magazines gives you a great leap forward to increase your command of words. Since you're interested in getting better marks in English exams, landing a good job in the near future and becoming a person who can speak English fluently, you must start now!
To start with, there are six ways to a better vocabulary :
          การอ่านมาก ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารจะทำให้เราก้าวไกลมากในการเพิ่มพูนเสริมสร้างการใช้ศัพท์ ในเมื่อเราสนใจอยากได้คะแนนสอบภาษาอังกฤษสูงๆ อยากได้งานดีๆ ในอนาคตอันใกล้ และอยากเป็นคนที่สามารถพูดอังกฤษคล่อง เราต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้   เริ่มต้นทีเดียว ก็มีอยู่ 6 วิธีด้วยกันในอันที่จะทำให้เก่งศัพท์ยิ่งขึ้น

1. Experience : ประสบการณ์
    You have to widen your range of experience by firsthand contact with English-speaking people. In a nutshell, you have to try to converse with English speakers-on whatevertopics-whenever you have a chance. Life is the greatest teacher of words and everything else.
     เราควรเสริมสร้างเราควรจะเสริมสร้างประสบการณ์ที่มีอยู่ด้วยการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคนที่พูดภาษาอังกฤษ คือ พูดง่ายๆ เราควรจะพยายามสนทนากับคนที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะคุยเรื่องอะไรเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีโอกาสชีวิตคือครูคำศัพท์และทุกสิ่งทุกอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

2. Reading : การอ่าน
    You must develop your habit of reading English books, newspaper and magazines based on interests, hobby, vocation , etc. Reading is one of the chef tools in broadening your background.
    เราต้องพัฒนานิสัยในการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่เป็นภาษาอังกฤษบนพื้นฐานของความสนใจ งานอดิเรก อาชีพ เป็นต้น การอ่านถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักๆ ที่จะเสริมสร้างภูมิหลังให้แก่เรา

3. Dictionary : พจนานุกรม
     You should get better acquainted with the contents and arrangements of words in the dictionary. The dictionary is a "must" for every English learner.
      เราควรจะทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาสาระและการเรียงร้อย คำในพจนานุกรมให้ดียิ่งขึ้น พจนานุกรมนั้น "จำเป็น" สำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษ

4. Notebook : สมุดบันทึก
      After collecting words, you are to keep a neat record of new words in your
notebook. If possible, you should copy the phrase of sentence to illustrate its actual use. And don't forget to check the meaning of every word or sentence you copy.
      หลังจากรวบรวมคำศัพท์ เราต้องจดบันทึกคำศัพท์ใหม่ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบในสมุดบันทึกของเราหากเป็นไปได้ให้คัดลอกวลีหรือประโยคที่แสดงถึงวิธีใช้และอย่าลืมตรวจดูความหมายของทุกคำ


5. Word-families or roots : ตระกูลศัพท์หรือรากศัพท์
       You should have to study t groups of words that are related in structure and meaning because of prefixes , roots and suffixes. Latin and Greek parents have given us thousand of words in English.
        เราต้องศึกษาหมวดหมู่ของคำศัพท์ต่างๆ ที่สัมพันธ์กันในโครงสร้างและความหมายอันเนื่องจากคำเติมหน้า (อุปสรรค)  รากศัพท์ และคำต่อท้าย (อาคม) ตระกูลศัพท์ที่มาจากภาษาลาตินและกรีกนั้นได้ให้ศัพท์ในภาษาอังกฤษแก่เรานับพันๆ คำ


6. Word-games : เกมคำศัพท์
        Just for fun , if you can become a crossword puzzle fan and solve other games that appear in newspapers, magazines, quiz books , etc.
          All in all, you have to read , write and speak English as much as you can, in an attempt to excel in English.
          เพื่อความสนุก หากเราสามารถจะเป็นแฟนเกมปริศนาอักษรไขว้ และไขเกมคำศัพท์อื่นๆ ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเกมปริศนา เป็นต้น
          ทั้งนี้และทั้งนั้น เราจะต้องอ่าน เขียนและพูดภาษาอังกฤษให้ได้มากเท่าที่จะมากได้ ในความพยายามที่จะทำให้เก่งอังกฤษ


วิธีพูดภาษาอังกฤษเหมือนฝรั่ง ในสไตล์ของ แอนดรูว์ บิ๊กส์
       กฎง่ายๆ10ข้อ(แถมอีก1ข้อ)สำหรับคนไทย เพื่อให้พูดภาษาอังกฤษได้(เหมือนที่ฝรั่งพูด)
ทำไมต้องเหมือนที่ฝรั่งพูด
     ตัวอย่างที่คนไทยพูด เช่นเมื่อครูเข้าไปในห้องเรียน นักเรียนจะลุกขึ้นยืน แล้วพูดว่า"Good morning"    ครูจะตอบว่า"Good morning"
นักเรียนพูดต่อว่า"How are you"   ครูตอบว่า"Fine thanks,And you"
นักเรียนทุกคนตอบว่า "Fine thanks." แล้วนั่งลง
        ทั้งหมดข้งบนนั้น ฝรั่งอย่างแอนดรูว์ บิ๊กส์ บอกว่า นอกจากเด็กปัญญาอ่อนแล้ว ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษแบบนี้ในโลก
ที่สหรัฐอเมริกา ถ้าจะถามว่า"คุณสบายดีไหม" เขาใช้ประโยคนี้"How are you doing?"คนอังกฤษใช้คำว่า"How are you going?"
        ดังนั้น เขาจึงสรุปให้เรารู้ว่า ภาษาอังกฤษที่คุณเรียนจากตำรา ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่คุณเจอในชีวิตจริง แอนดรูว์ บิ๊กส์  ใช้ประสบการณ์ของตัวเอง
ตั้งกฎขึ้นมา 10 ข้อ(แถมอีก 1 ข้อ) เพื่อมาแนะนำให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษเหมือนที่ฝรั่งพูด

ในกฎแต่ละข้อ มีคำแนะนำ เหตุผลพร้อมตัวอย่างนำมาเล่าได้อย่างสนุกสนาน และหยิกคนไทยได้แสบๆคันๆพอสมควร
กฎ 10 ข้อ(แถมอีก 1 ข้อ) ของแอนดรูว์ บิ๊กส์ มีดังนี้
        1.RULE NUMBER ONE - FORGET THE RULES(ลืมกฎซะเถอะ)
           การพูด ไม่ใช่การเขียน ถ้าคุณจดจ่ออยู่กับเรื่องไวยากรณ์มากเกินไป คุณจะลืมเรื่องอื่นไปทันที การพูดคือ การสื่อสาร ดังนั้น กฎข้อแรกคือ ให้ลืมกฎ แล้วพูดไปเลย อ้าว!ถ้าพูดผิดล่ะ ก็ต้องอ่านกฎข้อ 2
        2.RULE NUMBER TWO - MAKE MISTAKES(จงพูดผิด)
           การพูดผิดคือบทเรียนที่เยี่ยมมาก ควรจะทำบ่อย และปล่อยให้เป็นธรรมชาติ เมื่อฝรั่งฟังใครพูดผิด เขามักจะแก้ให้ทันที เหมือนกับคนไทย เมื่อได้ยินฝรั่งพูดภาษาไทยผิด ก็จะบอกคำที่ถูกให้ ถ้าคำที่พูดผิดมันชวนขำ ใครก็ต้องหัวเราะ แต่เชื่อเถอะว่ามันไม่ใช่การหัวเราะเยาะ มันแค่ขำเท่านั้น คุณควรจะหัวเราะตามไป ครั้งต่อไปคุณจะจดจำได้และไม่พูดผิดอีกเลย
        3.RULE NUMBER THREE - DON'T TRANSLATE(ห้ามแปลตรงตัว)
           เมื่อคุณพูดภาษาไทย คุณคิดเป็นภาษาไทย เมื่อคุณพูดอังกฤษ ให้คิดเป็นอังกฤษ แต่ถ้ากลัวว่าทำอย่างนั้นแล้วจะพูดผิด ให้กลับไปอ่านกฎข้อ 2 ในเรื่องนี้ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ยกตัวอย่าง 9 อันดับของการใช้ภาษาอังกฤษยอดแย่ของค่ายเทปชื่อดังมาให้ดูด้วย อย่างเช่น BLACK HEAD มันแปลว่า "สิวหัวดำ" น่ะ คุณเคยรู้บ้างไหม
        4.RULE NUMBER FOUR - KEEP IT SIMPLE(ใช้ภาษาแบบง่ายๆ)
          จุดประสงค์การพูดคือ ต้องการสื่อความหมายให้เข้าใจกัน เพราะฉนั้น ต้องใช้ศัพท์ที่อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย ยิ่งง่ายยิ่งดีครับ
        5.RULE NUMBER FIVE - COULD YOU PLEASE SLOW DOWN?(กรุณาพูดช้าๆหน่อย)
          เป็นเรื่องจริงที่ว่า ฝรั่งบางคนพูดเร็ว บางคนพูดไม่ชัดอีกต่างหาก ปัญหานี้ควรทำอย่างไร ท่องประโยคนี้ให้ขึ้นใจเลยครับ
"Excuse me. Could you please slow down?"
ข้อสังเกตในการออกเสียง โปรดระวัง ถ้าไม่ชัดเจน ฝรั่งจะฟังเป็น Kiss me ถ้าคุณเป็นผู้หญิง แย่เลย
วิธีง่ายๆ ให้นึกถึงตัว X กับตัว Q ก็จะได้ X-Q-SMEE = Excuse me ออกเสียงตอนสุดท้ายเป็น "หมี" และ"ด๋าว"
        6.RULE NUMBER SIX - LELAX(ทำตัวสบายๆ)
           หายใจให้ลึก แล้วนึกว่าตัวเองลอยได้และยิ้ม เมื่อร่างกายของคุณรู้สึกสบาย คุณจะพูดได้คล่อง คิดได้ง่าย
        7.RULE NUMBER SEVEN - LISTEN AND COPY(ฟังแล้วเลียนแบบ)
           เปิดหูให้กว้าง ฟังวิธีที่ฝรั่งออกเสียงคำแต่ละคำ เช่น Island ที่แปลว่า "เกาะ" มีตัว s แต่ฝรั่งไม่ออกเสียง คนไทย 90.5 % ชอบออกเสียง s ในคำนี้ ซึ่งผิด ที่ถูกต้องออกเสียงว่า "ไอ-แลนด์"
         8.RULE NUMBER EIGHT - GUESS(เดา)
           ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจทุกคำที่คุณได้ยินในภาษาอังกฤษ ฟังเพียงคำสำคัญๆในแต่ละประโยค เพื่อจับประเด็นหลักก็พอแล้ว ส่วนที่เหลือมักจะเป็นคำสั้นๆหยุมๆหยิมๆที่ไม่ค่อยมีความหมายมากนัก เราสามารถเดาได้
ถ้าหากจะถามว่า "แล้วเมื่อไรจะเก่งพอที่จะเข้าใจได้ทุกคำเสียที่ล่ะ" คำตอบอยู่ที่กฎข้อต่อไป
        9.RULE NUMBER NINE - GIVE YOURSELF TIME(ต้องให้เวลากับตัวเอง)
           อย่าท้อใจเด็ดขาด อย่าแม้แต่คิด คุณต้องยอมให้ภาษาอังกฤษเข้าไปในชีวิตประจำวันของคุณ และใช้มันทุกวัน ถ้าชอบวิทยุก็ฟังวิทยุ ถ้าชอบดูหนังก็ดูหนังดูทีวี ครั้งแรกอาจเข้าใจไม่เกิน 10 % ต่อไปจะดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกเช้าคุณควรยืนหน้ากระจก ส่องดูหน้าตัวเอง ส่งยิ้มไปพร้อมพูดว่า
"I'm getting better and better at English" วันละ 5 ครั้ง พูดเหมือนว่าคุณเชื่ออย่างนั้นจริงๆ
      10.RULE NUMBER TEN - READ READ READ(อ่าน อ่าน และอ่าน)
          การอ่านเป็นวิธีการที่ดีมากที่จะช่วยให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่ต้องเป็นสิ่งที่คุณอยากอ่าน ไม่ใช่ถูกบังคับให้อ่าน ชอบแฟชั่น ชอบกีฬา ชอบทำอาหาร เลือกอ่านในสิ่งที่เราชอบ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ จะมีบางส่วนที่เราชื่นชอบอยู่ด้วยแน่นอน เมื่อคุณอ่าน ไม่ต้องเปิดพจนานุกรมทุกครั้งที่เจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจ ให้อ่านทั้งวลี ทั้งประโยค หรือย่อหน้า แล้วลองเดาความหมายดู แต่เมื่อเจอคำศัพท์ยากนั้นบ่อยครั้งขึ้น อนุญาตให้เปิดพจนานุกรมได้
      11.แถมอีกกฎหนึ่ง - FIND A FOREIGN FRIEND(หาเพื่อนฝรั่ง)
          ถ้าคุณมีเพื่อนเป็นฝรั่ง คุณสามารถฝึกหัดภาษาอังกฤษได้ทุกวัน ใช้โทรศัพท์คุยกับเพื่อนฝรั่ง คุณเสียแค่ 3 บาทเท่านั้น และคุณยังจะได้เข้าใจวัฒนธรรมของคนต่างชาติดียิ่งขึ้นอีกด้วย จากการที่มีเพื่อน ที่ไม่ใช่คนชาติเดียวกัน


รวมข้อข้องใจกับความหมายในภาษาอังกฤษ
             ทำอะไรอย่างรีบร้อน "change horses in midstream"
             สำนวนนี้อุทิศให้ทุกท่านซึ่งมีเจ้านายที่ชอบเปลี่ยนใจบ่อยจนจะเกิดความรู้สึก น่ารำคาญ เช่นที่เริ่มทำโครงการที่นายสั่งมาและก็หมดไปครึ่งหนึ่งปุ๊บ นายก็เปลี่ยนใจอยากจะให้คุณทำอีกทางหนึ่ง ทำให้โครงการนั้นยุ่งๆ ไปหมด นี่คือความหมายของสำนวน to change horses in midstream
             ถ้าจะแปลตรงตัวหมายถึง สลับขี่ม้าตอนอยู่ท่ามกลางแม่น้ำ ทั้งๆ ที่ควรรอข้ามแม่น้ำก่อนที่จะสลับขี่ม้า นึกออกไหมครับ ความหมายคือ ทำอะไรอย่างรีบร้อน อย่างกะทันหัน โดยที่ควรรอจังหวะเวลาที่ดีกว่านี้ บางครั้งให้ความหมายว่า เปลี่ยนใจ            เช่น Sorrayut wanted to shave his head,
but he changed horses in midstream. Now he wants to grow a beard. (ทีแรกสรยุทธอยากจะโกนหัวแต่ตอนนี้เปลี่ยนใจโดยสิ้นเชิง
เขาอยากไว้เคราแทน)

             ใจเย็นๆ Take it easy หรือ Please excuse me?
             ถ้าเพื่อนกำลังอารมณ์เสีย/โกรธ อะไรบางอย่าง เราจะช่วยปลอบใจเขาให้เขาใจเย็นๆ ได้อย่างไรบ้าง ต้องไม่พูดอะไรเลยดีกว่า เพราะเวลาโกรธจัด ไม่มีคำพูดใดๆ สามารถช่วยทำให้ลดความโกรธนั้น (นอกจาก "Oh! Good news! You just won the lottery!") ควรหลบจนกว่าเขาจะหายโกรธดีกว่า ไม่ควรพูดกับคนกำลังโมโหว่า Take it easy. หรือ Dont be serious. นี่คือคำพูดคำสุดท้ายที่เราอยากจะฟังตอนที่เราหัวเสีย
            Take it easy หมายถึงใจเย็นๆ ส่วน   Dont be serious. ไม่มีความหมายในภาษาอังกฤษ เป็นการใช้คำว่า serious อย่างไม่ถูกต้อง
สรุป   ควรใช้คำพูดว่า Please excuse me. (ฉันขอตัวก่อน) และค่อยๆ กลับมาเมื่อเขาเข้าสู่สภาพปกติอีกครั้ง
            I know. กับ I do know.
            คำว่า do มีสารพัดประโยชน์ในภาษาอังกฤษ คำว่า do ถูกใช้ในประโยคบอกเล่า เพื่อให้คำถามมีน้ำหนักมากขึ้น  ส่วนความหมาย I know แปลว่า
ผมรู้ I do know แปลว่า ผมรู้ เหมือนกัน แต่ I do know แสดงว่าผู้พูดมั่นใจว่าเขาทราบดี  เช่น You're supposed to start work at 9 am.
(คุณต้องเริ่มทำงานเวลา 9 นาฬิกา) I do know that. (ก็รู้แล้วล่ะ)So why are you late then? (งั้นทำไมคุณมาสาย)

             ในตัวอย่างนี้สามารถตอบว่า I know that. โดยไม่เสียความหมาย แต่การใช้ do ทำให้คำตอบนี้มีน้ำหนักในสิ่งที่คุณพูดแรงขึ้น หรือกวนๆ ขึ้น
            ฝนตกปรอยๆ  to rain lightly หรือ to shower 
             ฝนตกปรอยๆ นั้นภาษาอังกฤษใช้ to rain lightly หรือ to shower ซึ่ง showerใช้ในรูปคำนาม หรือกริยาก็ตาม เช่น It showered briefly
the day Kanok got married.(ฝนตกปรอยๆ วันที่กนกสมรส)

             อาจใช้สำนวน to rain in dribs and drabs ซึ่งหมายถึง ฝนตกบ้าง ไม่ตกบ้าง ตกๆ หยุดๆ คงจะตรงกับคำไทยว่า ฝนตกประปราย
  It rained in dribs and drabs the day Kanok got married.(ความหมายเดิม)

            กรณีฝนตกหนัก  คือตกแบบไม่ลืมหัวลืมตานั้นคือ to rain cats dogs   เช่น It rained cats and dogs the day Sorrayut went to
 Bang Saen.(ฝนตกหนักวันที่สรยุทธไปเที่ยวบางแสน)

            งอน" และคำว่า "ง้อ"
            คำว่า "งอน" กับ "ง้อ" อยู่ในกลุ่มคำภาษาไทยที่แปลยากมาก (คำอื่นๆ ในกลุ่มคำนี้มีรวมถึง เกรงใจ กับ หมั่นไส้) คำว่า petulantหมายถึง "งอน"
ใช้ได้  อย่างน้อยได้ถ่ายทอดอารมณ์งอนอย่างดี คำว่า "ง้อ" grovel เป็นคำที่รุนแรงเกินไป ถ้าเปรียบเทียบกับ "ง้อ"

           to grovel ให้ความหมายว่า "เลียแข้งเลียขา" หรือ"หมอบคลานให้" ใครบางคนเพื่อที่จะได้อะไรบางอย่าง ความหมายนี้ไม่ตรงกับ "ง้อ"
          
          want กับ would like

          ant กับ would like ทั้งสองคำนี้แปลว่า ต้องการ ต่างกันที่ว่า would like ฟังแล้วสุภาพกว่า เหมาะกว่า เช่น What would you like
to drink ? (คุณจะรับเครื่องดื่มอะไรดี) ซึ่งฟังดีกว่า What do you want to drink ? ในรูปคำถามแล้ว Would you like …? กับ Do you want …?
ความหมายคือ คุณต้องการ อะไรบางอย่างไหม  แต่ Would you like เหมาะสำหรับการชักชวน เช่น... Would you like to come home with me ?
(คุณอยากจะกลับบ้านกับผมไหม)
          สรุปคือ would like กับ want เหมือนกับคำว่า "ต้องการ" กับ "เอา" ในภาษาไทย


          R.I.P.
          R.I.P. สามตัวอักษรนี้มักจะเจอในหินบนหลุมฝังศพ เป็นภาษาเขียนไม่ใช่ภาษาพูด ย่อมาจาก Rest In Peace เป็นสำนวนหมายถึง ขอให้หลับสบาย
อย่าใช้กับคนที่ยังไม่ได้สิ้นชีวิตนะครับ R.I.P.ใช้กับศพอย่างเดียว ไม่ใช่กับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่


         get on, get off
        คำว่าขึ้นรถกับลงรถ และขึ้นเรือกับลงเรือ และขึ้นเครื่องบินกับลงเครื่องบินต่างกันหรือเหมือนกัน get on คือขึ้น, get off คือลง ใช้กับ รถเมล์ รถไฟ
เรือ เครื่องบิน จักรยาน อะไรก็ได้ที่ไม่เป็นรถเก๋งโดยมีข้อแม้ดังนี้
  -สำหรับ รถเก๋งรวมถึงรถแท็กซี่กับรถตุ๊กตุ๊ก ให้ใช้ get into กับ get out of ในความหมายว่า ขึ้นรถ ลงรถ
  -คำว่า board เมื่อถูกใช้เป็น กริยา หมายความว่า ขึ้นรถโดยสาร เช่น board a bus, board a train, board a plane
  -คำว่า alight เมื่อเป็น กริยามีความหมายว่า ลง ใช้กับทุกอย่าง ยกเว้นเรือ ครับ
  -สำหรับการ ลงจากเรือ เรามีคำว่า disembark ค่อนข้างเป็นภาษาทางการ
  -คุณสามารถใช้คำว่า take หรือ catch ในความหมายว่า ขึ้น หรือใช้บริการรถโดยสาร ทุกประเภท  เช่น take a train, catch a bus, take a plane,
catch a tuk-tuk, take a taxi
 

        ดูแล to take somebody under (one's) wing
      "He was the person who took me under his wing when I came here." เขาเป็นคนที่ดูแลฉันูเมื่อฉันมาที่นี่ครั้งแรก
สำนวน to take somebody under (one's) wing หมายความว่า ดูแลหรือ take care ใครบางคน สำนวนทำให้เราคิดว่าตัวเองเป็นนกและเราใช้ปีกของเรามาคลุมนกตัวเล็ก ไม่ให้พบกับภัยอะไรเลย  เช่น...I was scared when I first met Sorrayut but he took me under his wing
and now I'm nearly as talented as he is. (ผมกลัวตอนพบคุณสรยุทธเป็นครั้งแรกแต่เขาก็ดูแลสั่งสอนผมอย่างดีจนกระทั่งวันนี้ ผมเกือบจะเก่งพอๆ
กับเขา)If you hadn't taken me under your wing, I would be on the streets by now.(ถ้าคุณไม่ได้มาดูแลผม ผมก็คงเป็นคนเร่ร่อนในปัจจุบันนี้)


       on time กับ in time
        on time หมายถึง ตรงเวลา in time แปลว่า ภายในเวลาที่กำหนดไว้  Sorrayut is never on time. (สรยุทธไม่เคยตรงเวลา)
        in time ความหมายคล้ายๆ กันเพียงแต่ว่าอาจจะเพิ่มความหมายตรงที่ว่า ไม่ใช่ ใช่ว่า เขาจะมาตรงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจจะมาก่อนเวลาก็ได้ แต่ที่แน่คือเขา
จะไม่มาสาย เช่น Dont worry. Hell arrive in time. (ไม่ต้องกังวล เขาจะมาถึงภายในเวลาที่เรากำหนดไว้)

        in time มีอีกความหมายหนึ่งคือ ในที่สุด หรือ ถ้าจะให้เวลาอีก
เช่น Hes not very good now. But in time, hell be okay. (ตอนนี้เขาไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าจะให้เวลาอีกเขาก็ต้องดีขึ้น) In time, you will be
excellent at English. (ในที่สุดคุณจะเก่งมากกับภาษาอังกฤษ)


       a man of one word..
       สำนวน a man of ones word หรือ a man of his word ้ ความหมายคือ คนนั้นซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ ทำตามที่เขาสัญญา คำว่า word ที่นี่หมายถึง
สัญญา หรือสิ่งที่คุณได้ให้สัญญาเอาไว้ เช่น..I give you my word; I have never taken drugs. (ผมสาบานว่าไม่เคยเสพยาเสพติด) จากความหมายนี้
จึงได้ a man of his word หรือว่า ผู้ชายที่ทำตามสัญญา เช่น.Sorrayuts a man of his word. He said hed run naked down Silom Road if Manchester United beat Liverpool. (สรยุทธทำตามที่เขาสัญญาไว้ เขาเคยสาบานว่าจะแก้ผ้าวิ่งตามถนนสีลมถ้า แมนฯ ยูไนเต็ด ชนะ ลิเวอร์พูล)

        ตัวอย่างนี้เราสันนิษฐานว่าสรยุทธได้วิ่งแก้บนเรียบร้อยแล้วที่น่าสังเกตคือมีแต่ man of his word ไม่เคยได้ยินใครพูดถึง a woman of her word
       Pass away, dead, die  
       to die แปลว่า ตาย , to pass away แปลว่า ตายเหมือนกัน แต่ to pass away เป็นภาษาทางการมากกว่า die เช่น My grandmother died last night. (เมื่อคืนคุณยายของผมตาย)   My grandmother passed away last night. (เมื่อคืนคุณยายของผมเสียชีวิต)  ทั้ง 2 ประโยคให้ความหมายเดียวกัน แต่ pass away ฟังแล้วนิ่มกว่า บางคนใช้ to pass on ซึ่งมีความหมายเดียวกับ pass away เช่น.Most World War II survivors have passed
on now.(ผู้รอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนใหญ่ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว)

        dead เป็น adjective ใช้อธิบายอะไรที่เสียชีวิตแล้ว เช่น My pet rabbit is dead. (กระต่ายที่ผมเลี้ยงตาย) จะเห็นว่า dead ใช้เพื่ออธิบายสภาพของสิ่งนั้นคือ ตายไปแล้ว แต่ died ใช้เมื่อพูดถึงจุดใด จุดหนึ่งของเวลา ซึ่งสิ่งนั้นได้แปรสภาพจากสิ่งที่เป็น ไปยังสิ่งที่ไม่เป็นแล้ว
       Say 'em loud, say'em clear
       Say em loud กับ say em clear. คำว่า em นี้เป็นภาษาพูด ย่อมาจาก them แต่ถูกย่อลง เนื่องจากว่าพูดเร็วแถมไม่ใส่ใจเรื่องการออกเสียง
อย่างถูกต้อง คำว่า them ในสถานการณ์นี้ มีความหมายว่า คำพูด ประโยค Say em loud จึงให้ความหมายว่า พูดดังๆ และ Say em clear หมายถึง
ให้พูดชัดๆ

      up to กับ no good
      to be up to หมายถึง ทำ อะไรบางอย่าง เช่นในคำถามนิยมว่า What are you up to? (ทำอะไรอยู่)  การใช้ up to อย่างนี้ให้ความหมายเป็นนัยว่า สิ่งที่กระทำอยู่นั้นอาจเป็นสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ถูก อาทิ คุณพ่อคุณแม่ใช้ What are you up to? กับลูกเวลาเขาเมื่อสงสัยว่าลูกกำลังแอบทำอะไรที่ไม่ดี หรือซน จากความหมายนี้เราสามารถเดาความหมายของ to be up to no good ซึ่งหมายถึง ทำอะไรที่ไม่ดี
       ดังนั้น I knew by the look on his face he was up to no good. ให้ความหมายว่า ผมรู้จากการแสดงออกทางใบหน้าว่าเขาทำอะไรไม่ดี
      envy กับ jealous.
       envy กับ jealous ไม่เหมือนกันคือ jealous แรงกว่า envy เพราะ envy เป็นทั้งนามและกริยา ในตัวอย่างที่เป็นกริยา I envy you หมายถึง
ผมอิจฉาคุณ แต่ผมยังชอบคุณไม่ถึงเกลียด เช่น..I envy Sorrayut. Hes tall, handsome and he has a beautiful girlfriend.(ผมอิจฉาคุณ
สรยุทธ เขาตัวสูง รูปหล่อ และยังมีแฟนสวยงาม...)แต่ jealous นำมาใช้เป็นกริยาไม่ได้ จะใช้ I jealous you. ไม่ได้ ต้องเป็น I am jealous of you.
เพราะว่า jealous เป็น adjective ครับ คำนามคือ jealousy

       สรุปว่า envy = verb + noun = อิจฉา envious = adjective = ซึ่งอิจฉา  jealous = adjective = ซึ่งอิจฉา jealousy = ความอิจฉาริษยา


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1362020#ixzz1EXrIPxV1

how to improve english skilll

http://www.englishspeak.com/th/

วิธีการสอนภาษาอังกฤษ

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ครูกุศยา แสงเดช
รูปแบบการสอน
ครูกุศยา แสงเดช ใช้เทคนิคการสอนหลาย ๆ แบบ ผสม
ผสานกันยึดหลักการสอนเพื่อการสื่อสารเป็นสำ คัญ โดยนำ เอาการ
สอนแบบตรง การเลียนแบบ และท่องจำ เข้ามาแทรกในการฟัง บท
ฟังและพูด นำ ไวยากรณ์มาแทรกในการสอน มีการสรุปกฎเกณฑ์
เน้นทักษะการใช้ภาษาเป็นสำ คัญ ขั้นตอนการสอนภาษาอังกฤษมี
3
ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 ขั้น
Presentation
กิจกรรมนำ เข้าสู่บทเรียนโดยการทำ กิจกรรม
Warm up
กิจกรรมทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้ว การบอกจุดประสงค์ในการเรียน
นำ เสนอศัพท์ใหม่ โครงสร้างประโยคหรือการอ่านและเขียน ในขั้น
ตอนนี้เน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา
(accuracy)
ขั้นที่
2 ขั้น Practice
ขั้นนี้เป็นการฝึกที่อยู่ในความดูแลของครู
(Controlled Practice)
เมื่อเห็นว่านักเรียนเข้าใจแล้ว จึงให้นักเรียนจับกลุ่มฝึกกันเอง
(Free
อาจารย์ 3 ระดับ 9 สอนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสายนํ้าทิพย์ ถนนสุขุมวิท 22
แขวงคลองตัน เขตคลองตัน กรุงเทพมหานคร
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
2
Practice)
มีข้อผิดพลาด แต่เมื่อฝึกเสร็จแล้วจึงจะแก้ไขภายหลัง เพราะระยะนี้
ต้องการความคล่องแคล่วในการพูด
ในขั้นนี้ครูไม่ขัดจังหวะการฝึกของนักเรียนถึงแม้จะพบว่า(fluency)
ขั้นที่
3 ขั้น Production
เป็นขั้นตอนที่นำ ความรู้และทักษะภาษาไปใช้ในสถานการณ์
ต่าง ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม
ร้องเพลง และการทำ แบบฝึกหัด
ในการสอนแตล่ะคร้งั เน้นบูรณาการทักษะ ฟัง พดู อา่ นและ
เขียน เช่น
ฟังแล้วพูด
ฟังแล้วอ่าน
คำ ตอบที่เป็นตัวเลือก
ฟังแล้วเขียน
: นักเรียนฟังครูและคู่สนทนา: ฟังคำ ถามแล้วเลือกคำ ตอบโดยการอ่าน: เขียน คำ วลี หรือประโยคตามคำ บอก
รายละเอียดในการสอนแต่ละทักษะตามลำ ดับ ดังนี้
การสอนทักษะฟังและพูด
ก่อนสอนครูอธิบายสถานการณ์ให้นักเรียนเข้าใจแต่ละตอน
เป็นต้นว่า ในห้องเรียน สนาม ใครกำ ลังพูดกับใคร เรื่องอะไรและ
แยกสอนคำ ศัพท์ใหม่ที่ต้องใช้ก่อนดังนี้
1.
ขั้นตอนการสอนคำ ศัพท์
1
ให้นักเรียนตั้งคำ ถาม เช่น
.1! ครูแสดงรูปภาพหรือวัสดุของจริงให้นักเรียนดู กระตุ้นWhat’s that? หรือ Is that a ........ ?
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
3
หรือ
What’s ....... in English? หลังจากนั้นครูตอบทันทีว่า It’s a .......
เป็นการบอกความหมาย โดยไม่ต้องบอกความหมายเป็นภาษาไทย เช่น
ครูสอนคำ ศัพท์ว่า
cat ครูถือภาพแมว ถามนักเรียนว่า
What’s this?
นักเรียนตอบว่า
แมวครูพูดทันทีว่า It’s a cat. พูดซํ้า
2-3
ให้นักเรียนฟังอย่างตั้งใจสังเกตวิธีการออกเสียงของครู
1
สั่ง
ครั้ง.2 ครูแสดงบัตรคำ ให้นักเรียนสะกดคำ โดยใช้ประโยคคำRead this
นักเรียน
: cat
ครู
: Spell it
นักเรียน
: c - a - t
1
นักเรียนด้วยประโยค
.3 ให้นักเรียนจับคู่ ถาม - ตอบ โดยใช้บัตรภาพของ
A : What’s this?
B : It’s a cat.
1
สอนด้วยวิธีเดียวกันนี้ แต่ควรสอนครั้งละไม่เกิน
1
ในสมุด โดยใช้คำ สั่ง
.4 หากมีคำ ศัพท์อื่น ๆ ที่จะต้องสอนในบทฟัง พูด อีกก็5 คำ.5 เมื่อสอนคำ ศัพท์จนครบแล้ว ให้นักเรียนจดศัพท์ลงWrite the words in your notebooks.
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
4
ลักษณะสมุดจดศัพท์นักเรียนเป็นลักษณะดังนี้
No Words Meaning Sentences
1
2
cat
bat
-etc-
This is a cat.
This is a bat.
การเรียงลำ ดับหมายเลขคำ ศัพท์ จะเรียงต่อกันตั้งแต่คำ แรก
ที่นักเรียนเรียนศัพท์ในชั้น ป
จดศัพท์เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนรักภาษาอังกฤษมากขึ้น
. 3 และติดตัวนักเรียนไปจนกระทั้งถึง.6 ในปลายภาคเรียนที่ 2 แต่ละปี ครูจัดให้มีการประกวดสมุด
2.
การสอนการใช้ภาษา
เมื่อเรียนคำ ศัพท์ใหม่แล้ว ให้นักเรียนฝึกใช้คำ ศัพท์ในบท
ฟัง และพูด ดังนี้
2.
นี้ และสั่งให้ นักเรียนเตรียมมาให้เรียบร้อย
1 เตรียมการล่วงหน้าว่าจะใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในชั่วโมง
2.2
อธิบายสถานการณ์
2.3
ที่ฝึกยาวได้พูดพร้อมทั้งแสดงแถบประโยคเพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
ครูเป็นผู้นำ บทพูดตามสถานการณ์ก่อน ถ้าประโยค
2.4
ตอนนี้มาทำ ให้เพื่อนดูเป็นตัวอย่างสัก
ครูเรียกนักเรียนที่เข้าใจวิธีทำ กิจกรรมฝึกภาษาใน2-3 คู่
2.5
แบ่งกลุ่มย่อยฝึก ครูเดินดูให้ความช่วยเหลือ
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
5
2.6
ลอกลงเป็นการบ้าน หรือให้คิดบทสนทนาที่คล้ายกันนี้เขียนเป็น
การบ้าน
นักเรียนเปิดหนังสืออ่านบทฟัง พูด และให้เขียน
การสอนคำ ศัพท์ประเภทคำ กิริยา
ใช้แสดงท่าทางประกอบ เช่น ครูพูด
สัญญาณมือโดยหงายมือทั้ง
เมื่อนักเรียนเข้าใจครูต้องรีบชมเชยว่า
เพื่อน ๆ ทราบว่ากิริยาเช่นนั้นถูกต้องแล้ว
Stand up พร้อมกับทำ2 ข้าง และเคลื่อนมือทั้ง 2 ข้างขึ้น และGood หรือ Very good เพื่อให้
!ครูควํ่ามือทั้ง 2 ลง และเคลื่อนมือลง พูด Sit down
!ครูทำ ท่าเปิดหนังสือ พูด Open your books to page ..........
!ครูยกมือป้องหู พูด : Listen, please.
คำ สั่งบางประโยคที่ยาก ครูพูดภาษาไทยควบกับภาษา
อังกฤษในครั้งแรก เช่น
บนโตะ๊
!ครูใช้นิ้วแตะริมฝีปากพูด : Stop talking. เป็นต้น“Put your books on my desk. วางสมุดลงเม่อื นกั เรยี นเขา้ใจแลว้กพ็ ดู ภาษาองักฤษอยา่งเดยี ว
การสอนไวยากรณ์
ครูไม่ได้แยกสอนไวยากรณ์ในลักษณะยึดหลักภาษาเป็นเรื่อง ๆ
แต่สอดแทรกเนื้อหาอยู่ในประโยคที่ใช้ในการฝึก
ตัวอย่าง
1
กิจกรรมเพ่อืฝึกทกั ษะการฟงั พูด ระดบั ช้นั ประถมศกึษาปีที่-2
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
6
1.
พร้อม เกิดความเข้าใจ อยากรู้อยากเรียน กิจกรรมที่ใช้เร้าความสน
ใจในขั้นนี้ ได้แก่
1
เพลง
ขั้นนำ (Warm up) เป็นขั้นที่ทำ ให้นักเรียนเกิดความ.1 เพลงและท่าประกอบ เช่นHello Sorry
เพลง
Down and up
เพลง
Day
เพลง
One - ten
เพลง
Red White Blue
1
ลองสวมมือเล่นก่อนใช้ทำ กิจกรรม
.2 หุ่นมือ เด็กชาย เด็กหญิง สัตว์ต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้
2.
โครงสร้างต่าง ๆ ของภาษา กิจกรรมที่จัดในขั้นนี้มี
ขั้นสอน เป็นขั้นที่ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้คำ ศัพท์2 แบบ
A
การฝึกพูดเป็นกลุ่ม
B
การใช้เกมฝึกฟัง พูด
A
การฝึก ฟัง - พูด เป็นกลุ่มและคู่ (group or pair)
การจัดกลุ่มเพื่อฝึกฟัง
เมื่อครูจะให้แบบสนทนาใหม่แก่นักเรียน จัดกลุ่มฝึกการ
ฟัง
1
นั้นได้แม่นยำ
- พูด-พูด ทำ ตามลำ ดับดังนี้. ฝึกพูดตามครูทั้งชั้นจนแน่ใจว่านักเรียนพูดบทสนทนา
2.
แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มใหญ่ พูดโต้ตอบกัน
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
7
3.
แม่นยำ และมั่นใจในการพูด
แบ่งกลุ่มย่อยลงหรือจับคู่พูดบทสนทนา เพื่อฝึกเพิ่มเติมให้
4.
ฝึกพูด และช่วยกลุ่มที่ทำ ยังไม่ได้
ครูเดินรอบ ๆ ห้องไปตามกลุ่มต่าง ๆ เพื่อฟังแต่ละกลุ่ม
5.
นั้นแก่นักเรียนทั้งชั้น
ขอให้นักเรียนอาสาสมัครพูดหน้าชั้นเพื่อยํ้าบทสนทนา
6.
ใจและให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความสามารถ
มีการเล่นบทบาทสมมติบ้างเพื่อทบทวน ทดสอบความเขา้
รูปแบบการฝึก ฟัง
- พูด (Drill)
การฝึก ฟัง
1
เรียนพูดตามทั้งชั้น หรือรายบุคคล ครูอาจสุ่มเรียกเพื่อให้นักเรียน
ตื่นตัวอยู่เสมอ ใช้ฝึกช่วงแรกของขั้นสอน อย่าใช้นาน เด็กจะเบื่อ
1
-พูด มี 2 รูปแบบ คือ. ครูควบคุมการฝึกเอง (Controlled Practice) ครูให้นัก.1 Repetition ครูยกภาพประกอบ
T : a cat, a cat
Sa : a cat
หรือ
Sa : This is a book.
T : This is a book.
1
นักเรียน
ครูยกภาพแมวอยู่บนกล่อง
.2 Substitution drill ครูยกภาพเป็นการนำ บทให้แก่
T : Where’s the cat ?
It’s on the box.
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
8
S : It’s on the box.
ครูยกภาพแมวอยู่ในกล่อง
T : Where’s the cat ?
S : It’s in the box.
ครูยกภาพแมวอยู่ใต้กล่อง
T : Where’s the cat ?
S : It’s under the box.
2.
2.
นักเรียนเข้ากลุ่มฝึกกันเองเป็นกลุ่มย่อย (Free Practice)1Chain Drill
จัดนักเรียนเป็นวงกลม ครูเป็นผู้เริ่มบทสนทนา โดย
ใช้บัตรภาพ สิ่งของกับนักเรียน คนแรกทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เมื่อจบ
บทสนทนา นักเรียนคนแรกหันไปพูดบทสนทนากับเพื่อนคนถัดไป
ทำ เช่นนี้เรื่อย ๆ ไปจนครบวงจร ถ้าชั้นเรียนใหญ่แบ่งนักเรียนเป็น
4 - 5
ครูแจกบัตรภาพหรือของจริง แก่นักเรียนทุกคน
ครูชูดินสอ
S : It’s a pencil.
S
วง เช่นT : What’s this ?1 หันไปทาง S2 ชูหนังสือให้ดู
S
1 : What’s this ?
ครู
S1 S7
S2 S6
S3
S4
S5
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
9
S2 : It’s a book.
แต่ละวงอาจมีการพูดแข่งกัน วงใดพูดเสร็จก่อนชนะ
2.2 Conversation lines
จัดนักเรียนยืนแถวหน้ากระดาน
หากันแต่ละคู่จะถาม
พบคู่สนทนาคนใหม่ คนซ้ายมือของทั้ง
ต่อแถวของตนเองใหม่ ครูยืนหัวแถวฟังและช่วยนักเรียนถ้าจำ เป็น
2 แถวหันหน้าเข้า-ตอบกัน เมื่อเสร็จทั้งคู่ก้าวไปทางซ้าย ทั้งคู่จะ2 แถว พูดแล้วให้วิ่งอ้อมไป
2.3 Step Away lines
จัดนักเรียนยืน
ทุกครั้งที่พูดสนทนาจบ ให้ทั้งคู่ก้าวถอยหลัง 1 ก้าว ฝึกพูดบท
สนทนานั้นใหม่ ทำ
จะต้องพูดดังและชัดเจนขึ้น
2 แถว หันหน้าเข้าหากับคู่สนทนา2-3 ครั้ง แต่ละครั้งคู่สนทนาก้าวถอยหลัง เขา
S
S2 : A duck.
1 : A dog or a duck.
S
S
S6 S7 S8 S9 S
1 S21 S2 S3 S4 S510
ครู
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
10
2.4
จัดนักเรียนทีมละ
แข่งกันเป็นทีม5-10 คน เข้าแถวตอนเรียงหนึ่ง
5
4
3
2
1 เมื่อครูให้สัญญาณ คนที่
หน้าคนที่ 1 พูดบทสนทนากับคนที่ 1 เช่น
5 ของแต่ละกลุ่มวิ่งมายืน
5 S5 : What’s color ?
4 S
3
กับคนที่ 1 คนที่
สนทนากับคนที่
หันหน้าทิศทางเดียวกับคนที่
คนที่
ใดเสร็จก่อนร้อง
1 : It’s red.พูดเสร็จคนที่ 5 กลับหลังหันยืนหันหน้าทิศทางเดียว4 วิ่งมายืนหน้าคนที่ 5 พูดบท5 พูดเสร็จ คนที่ 4 กลับหลังหัน ยืน5 คนที่ 3 วิ่งมายืนหน้า4 พูดบทสนทนา ทำ เช่นนี้จนครบทุกคน กลุ่มฮูเรแล้วนั่งลง
-
ครูจัดลำ ดับผู้ชนะ
-
เมื่อนักเรียนฝึกฝนเป็นกลุ่มแล้ว อาจกำ หนดให้จับคู่ฝึก
นกั เรยี นทกุคนตอ้งว่งิออกทางขวา เพื่อมิให้วิ่งชนกัน
(pair)
เพิ่มเติม
Hooray !
2
1
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
11
ตัวอย่าง
กิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการฟัง ป.3-.6
กิจกรรมที่
1
1
. ครูแจกภาพที่มีลักษณะดังข้างล่างนี้ให้นักเรียนทุกคน
2.
ครูบอกให้นักเรียนฟังคำ สั่งแล้วปฏิบัติตาม
Draw a book on the table.
Draw a ruler on the book.
Draw a schoolbag on the chair.
Draw a bin under the table.
กิจกรรมที่
2
1
. ครูผู้สอนนา ํแผนภมู ซิ ่งึ มลี กั ษณะขา้งลา่งน้ตี ิดบนกระดานดำ
school Police station temple
bank bus station
Malee’ house
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
12
2.
แล้วตอบคำ ถามพร้อมกันทีละกลุ่ม หรือทีละคน
ครูบอกให้นักเรียนดูแผนภูมิ แล้วฟังคำ ถามดังตัวอย่าง
Where’s Malee’s house ?
What’s next to the police station ?
What’s opposite the bank ?
Where’s the temple ?
Is the bus station opposite the school ?
กิจกรรมที่
3 เกมการเดา (Guessing games)
คล้ายเกม
No questions
ตัวอย่างดังนี้
20 คำ ถาม คือ ผู้เดาจะต้องตั้งคำ ถามแบบ Yes/เพื่อหาคำ ตอบว่าสิ่งที่ตนต้องการนั้น คำ ตอบคืออะไร
- Where is it ?
- What is it ? etc.
วิธีสอนทักษะการอ่าน
3 ประการ คือ. อ่านเพื่อบันเทิง ได้แก่ เรื่องราวประเภทนิทาน นิยาย
2.
อ่านเพื่อรู้วิธีการ ไดแ้ ก ่ตา ํรา สลากยา ค่มู ือการใชส้่งิ ตา่ ง ๆ
3.
ขั้นตอนการสอนอ่านในระดับประถมศึกษา
1
ใจ ปรึกษากันในกลุ่มว่า เรื่องเป็นอย่างไร เดาความหมายศพั ทท์ ่ไีมร่ ู้
อ่านเพื่อค้นคว้า ได้แก่ เรื่องราวสารคดีโดยทั่วไป. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม อ่านเรื่องในใจ พยายามทำ ความเข้า
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
13
2.
กลุ่มจะฟังว่าเล่าตรงกับที่ตนอ่านหรือไม่ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป
กลุ่มส่งตัวแทนออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง เพื่อนแต่ละ
3.
สูงตํ่าให้ถูกต้อง
นักเรียนอ่านออกเสียงตามครู ลงเสียงหนักเบาและสำ เนียง
4.
ครูตั้งคำ ถามให้นักเรียนหาคำ ตอบจากบทอ่าน
5.
ให้แต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติประกอบการอ่าน
6.
อ่านค่อนข้างยาก มีวิธีสอนดังนี้
6.
นักเรียนทำ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน (ในกรณีที่บท)1 ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
6.2
สอนคำ ศัพท์สำ คัญไว้ล่วงหน้า
6.3
แบ่งเนื้อหาออกเป็นช่วงสั้น ๆ
6.4
แบบง่าย ๆ
ตั้งคำ ถามเฉพาะจุดสำ คัญไว้เพื่อสังเกต โดยตั้งคำ ถาม
6.5
ถอดความให้ในกรณีที่ข้อความบางแห่งยากเกินไป
6.6
ให้ทำ งานง่าย ๆ เช่น จับคู่ถามตอบ
6.7
ชมและให้กำ ลังใจ
เทคนิคการอ่านโดยวิธีการโคลซ
(Cloze Procedure)
1
. เริ่มการสอนโดยการบอกจุดประสงค์ของกิจกรรม
2.
อธิบายจุดประสงค์และวิธีเดาคำ ที่หายไปจากเนื้อหา
(Context)
เน้นให้นักเรียนกล้าเดาคำ
3.
อย่างรวดเร็ว
ให้นักเรียนอ่านประโยคแรก และประโยคสุดท้ายในใจ
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
14
4.
ถูกต้อง ระหว่างอ่านครูใช้คำ ว่า
เดียวกันให้นักเรียนอ่านในใจพร้อมกับครู
ครูอ่านข้อความให้นักเรียนฟัง เน้นการออกเสียงสูงตํ่าที่Blank แทนคำ ที่ตัดออก ในขณะ
5.
ถ้านักเรียนมีปัญหาในการเลือกคำ ครูอาจให้ตัวอักษรตัวแรกของคำ
ศัพท์ที่ถูกต้อง
ให้นักเรียนอ่านข้อความในใจอีกครั้ง และให้ทำ แบบฝึกหัด
6.
ครูเฉลยข้อความ
กิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการอ่าน
1
1
1
ถูกต้อง
1
1
. กิจกรรมในการเข้าใจคำ ศัพท์.1 การทำ ประโยคให้สมบูรณ์.2 ดูรูปภาพแล้วบอกว่าประโยคใดอธิบายรูปภาพได้.3 วาดภาพประกอบประโยคหรือข้อความสั้น ๆ.4 อ่านรายละเอียดซึ่งเป็นการอธิบายคำ ศัพท์
2.
กิจกรรมช่วยให้เข้าใจรายละเอียดของเนื้อเรื่อง
2.
1 วาดภาพประกอบรายละเอียดของข้อความ
2.2
ดูรูปภาพแล้วเลือกข้อความที่อธิบายรูปภาพนั้นได้ดีที่สุด
2.3
เล่นเกมล่าสมบัติ
3.
การเรียงลำ ดับเหตุการณ์
3.
1 อ่านเรื่องแล้วเรียงรูปภาพตามลำ ดับเหตุการณ์
3.2
ตามลำ ดับ
เขียนกิจวัตรประจำ วันในแถบประโยคแล้วให้เรียง
4.
การตั้งชื่อเรื่องหรือจับใจความสำ คัญ
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
15
4.
1 สร้างเรื่องสั้น ๆ แล้วเลือกชื่อเรื่องที่มีตัวเลือกได้
4.2
อ่านเรื่องสั้น ๆ แล้วหาใจความสำ คัญของเรื่อง
5.
การวินิจฉัยสิ่งที่อ่าน
5.
ต่อข้อสรุปหลาย ๆ อย่าง เช่น
a test, ......... (He gets nervous)
ต่อข้อสรุปหลาย ๆ อย่าง
1 ให้ประโยคที่แสดงเงื่อนไข 1 ประโยค แล้วนักเรียนWhenever John hasแล้วให้นักเรียน
5.2
อ่านก่อนจบให้นักเรียน คาดการณ์เองว่าเรื่องต่อไป
เป็นอย่างไร
ครูอ่านเรื่องที่นักเรียนคุ้นเคยมาก่อนให้ฟัง แล้วหยุด
5.3
เรียนอ่านเอง
เล่นเกมทายปริศนา คล้ายกับการสอนฟัง แต่ให้นัก
6.
!การอ่านที่มีการกำ หนดงานประกอบบทอ่าน
ตัวอย่าง
จุดประสงค์
เข้าใจคำ ศัพท์
เพื่อให้อ่านคำ สั่งและปฏิบัติตามเพื่อทดลองความ
งานที่กำ หนดให้
เขียนภาพและทำ กิจกรรมตามบทอ่าน
บทอ่าน
Draw a circle around the fourth square and a
cat in the third one.
Put a triangle on the square next to the one
with the circle around it.
Open your notebook and draw five small squares.
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
16
Write your name under the first square. Draw
a fish on the second square.
Show your picture to your friend next to you.
วิธีสอน
เปรียบเทียบกับภาพของเพื่อน
นักเรียนอ่านข้อความและทำ ตามบทอ่านเสร็จแล้ว
เฉลย
Urai
การสอนทักษะเขียน
เนื่องจากการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน เน้นการฝึกให้นัก
เรียนสามารถใช้ภาษาได้ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ในสถาน
การณ์จริงและเน้นการสอนในทักษะทั้งสี่สัมพันธ์กันตลอด ดังนั้นใน
การสอนฟัง พูด จึงมีกิจกรรมตามหลังด้วยการอ่านและเขียน
1
1
1
. กิจกรรมการสอนเขียนที่สัมพันธ์กับการฟังและพูด.1 การลอกบทฟังและพูด.2 การเขียนดัดแปลงบทฟังและพูด
2.
การเขียนแบบฝึกหัด
2.
1 การเติมคำ หรือประโยคให้ได้ความหมายตรงกับภาพ
2.2
การเติมคำ หรือประโยคให้ได้ความโดยไม่มีภาพ
2.3
การกรอกแบบฟอร์ม
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
17
2.4
การเขียนรายงาน
2.5
การเขียนเพื่อสื่อความหมายระหว่างนักเรียนด้วยกัน
2.6
การเขียนแบบฝึกหัดเพื่อสรุปเนื้อหาทางไวยากรณ์
ตัวอย่างกิจกรรม
จุดประสงค์
นักเรียนได้ฝึกดังนี้
ฝึกการใช้ภาษาเพื่อแนะนำ ตัว ในบทฟังพูด
A : My name is Urai. I’m a student in Pratom 6.
What’s your name ?
B : Dara. I’m in Pratom 5.
แบบฝึกหัดเขียน
Ed
Dara
3.
กิจกรรมการสอนเขียนที่สัมพันธ์กับการอ่าน
3.
1 เขียนตอบคำ ถามในบทอ่าน
Hello, My ……… ………. Ed.
I am a student at Sainamtip School.
What ………. ………….. name?
Hello, ………….. name is ……….
I ……. a …………………………
at …………………….. School.
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
18
3.2
การเขียนตอบคำ ถามมีหลายลักษณะ อาจจะเป็นการเติมคำ
ในช่องว่าง การตอบคำ ถามสั้น ๆ การทำ ตารางเปรียบเทียบ ฯลฯ
เป็นต้น
เขียนเรื่องเลียนแบบบทอ่าน
ลักษณะของกิจกรรมฝึกการเขียนโดยทั่วไป
1
. กิจกรรมเขียนประโยค (Writing Sentences)
! เรียงลำ ดับประโยคให้สมบูรณ์
! เติมประโยคให้สมบูรณ์
Bangkok is a very beautiful. .................
! ให้คำ สำ คัญ สำ หรับแต่งประโยค เช่น
like - play - field
(He likes to play in the field)
! ให้เขียนประโยคคำ ถามจากคำ ตอบ
! ให้บรรยายภาพ เขียนตัวอย่าง Pattern ให้พิจารณา
! ให้ดูภาพ เขียนประโยค 10 ประโยค บรรยายภาพ
2. Guide Composition
! เรื่องจาก Substitution table
เติมคำ เช่น
!ครูให้ passage 1 เรื่อง มีบางคำ หายไปให้นักเรียนVerb หรือ preposition
!ให้เรื่องอ่านแล้วมีคำ สั่งให้เปลี่ยนบางคำ
3. Partly Guided
นักเรียนอ่าน ให้นักเรียนเขียนคำ ตอบ
!ครูเขียนคำ ถามไว้หลาย ๆ คำ ถาม จากเนื้อเรื่องที่ให้
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
19
!ใช้รูปภาพเป็นชุด นักเรียนเขียนบรรยายภาพต่อกัน
!Dicta composition
ครูอ่านให้ฟังหลาย ๆ ครั้ง นักเรียนเขียนจากความจำ
!นักเรียนอ่าน เก็บใจความสำ คัญแล้วเขียนใหม่
นักเรียนเติมใหม่
!เลือก passage ง่าย ๆ ครูดึงออกทุก 2 ประโยค ให้
รายละเอียดเอง
!ครูเขียนประโยคที่เป็นใจความสำ คัญ ให้นักเรียนเขียน
4. Free Composition
!ให้หัวข้อเรื่อง และนักเรียนเขียนในกำ หนดเวลาที่ให้
5. Dictation
!เขียนจดหมาย pen - friend
!ครูอ่านเรื่องให้นักเรียนฟัง 1 เที่ยวก่อน
การอ่านควรอ่านด้วยความเร็วปกติ สำ หรับคำ ที่ไม่
สำ คัญ เช่น ชื่อคน หากนักเรียนยังไม่เคยเห็นมาก่อน
ครูเขียนให้นักเรียนดูก่อนได้
!ครูอ่านเป็นช่วง ๆ ทิ้งช่วงเวลาให้นักเรียนเขียน ใน
!เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ครูอ่านทวนอีกครั้ง
!ครูเขียนบนกระดานให้นักเรียนตรวจแก้
ภาระงานอื่น ๆ จะทำ ให้การเขียนมีความหมายยิ่งขึ้น
!บทเขียนตามคำ บอกบางครั้งลงท้ายด้วยคำ ถาม และ
หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ
2541 วิชาภาษาอัวกฤษ
20
ตัวอย่าง
จุดประสงค์
บัญชีสิ่งของที่จะต้องซื้อ และคิดคำ นวณเงินที่ใช้
ฝึกการฟังและเขียนเกี่ยวกับการบอกราคา การทำ
บทตามคำ บอก
Wipa is going to the market. She has two hundred
baht. She wants to buy a toothbrush, half a kilo of chicken, a
kilo of pork, a dozen eggs, some kinds of vegetables, a bottle
of fish sauce and half a kilo of sugar. A toothbrush is
Chicken is 38 baht a kilo. Vegetables are
sauce is
much change will Wipa have ?
13 baht.15 baht. Fish12 baht a bottle. Sugar is 13 baht a kilo. How
ภายหลังตรวจแก้ครูให้ทำ กิจกรรมดังนี้
1
. ทำ บัญชีสิ่งของที่จะต้องซื้อ
2.
คิดจำ นวนเงินที่ใช้และเงินทอน3. เขียนตอบคำ ถาม
การอ่านโดยทั่วไป มีจุดมุ่งหมายหลักอยู่
1